หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุนันทกิจ เทียงเดช
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : สุนันทกิจ เทียงเดช ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุญทัน ดอกไธสง
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ


                                                    บทคัดย่อ


                         วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ คือ ๑)    เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสภาพทั่วไปการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) เพื่อศึกษาการบริหารและหลักพุทธธรรมสำหรับการบริหารความเสี่ยงการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๓ รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ๒๘๖ รูป/คน จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาส่วนกลาง วิทยาเขต ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๑๒ แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                    ผลการวิจัยพบว่า   
                ๑. สภาพปัญหาและสภาพทั่วไปของการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชี ด้านการวางแผน แผนงบประมาณประจำปีออกไม่ทันต่อการบริหารจัดการ ทำให้ส่วนงานต่าง ๆ ไม่สามารถมีแผนงบประมาณที่ชัดเจน รายรับและงบประมาณมาจากหลายแหล่ง ขาดการวางแผนด้านการเงินและบัญชี ด้านการจัดองค์กร เป็นองค์กรขนาดใหญ่มีหน่วยงานทั้งในกลางและส่วนภูมิภาคจำนวนมาก โครงสร้างบุคลากรบุคลากรเฉพาะทางไม่สอดคล้องกัน และด้านบุคลากร สายงานปฏิบัติการวิชาชีพด้านการเงินและบัญชี ยังไม่เพียงพอต่อการบริหาร บุคลากรในสายงานที่จำเป็นขาดแคลน ด้านการอำนวยการ ปัญหาการประชาสัมพันธ์และสื่อสาร การจัดระบบเอกสาร ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้มีปัญหาในการประสานงานและการเผยแพร่ข้อมูล ด้านการกำกับดูแล การจัดทำและรายงานผลทางด้านการเงินและบัญชีล่าช้าไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา
                    ๒. การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามหลักอปริหานิยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อที่บุคลากรเห็นว่าสามารถลดความเสี่ยงได้มากที่สุดถ้าหากปฏิบัติ คือ “การติดตามให้เป็นไปตามกฏ กติกา” รองลงมาได้แก่ข้อที่ว่า ‘การยอมรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” และ “การเคารพ กฎ ระเบียบ” ตามลำดับ
                       ๓. การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความเสี่ยงเป็นภารกิจที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้ปฏิบัติถึงระดับผู้บริหาร ที่ต้องร่วมกันในการสืบหาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง แนวทางป้องกันการควบคุม ร่วมกันทุกกระบวนการทำงาน ตามกลยุทธ์ที่ได้ ดังนี้
การประชุม อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์การจัดกิจกรรม เพื่อการวางแผนทางการเงินและบัญชี ที่คณะทำงานต้องร่วมกัน ศึกษาสาเหตุ ควบคุมปัจจัยเสี่ยง และกำกับดูแลติดตามกิจกรรมทางการบริหารการเงินและบัญชี เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามนโยบายหน่วยงาน และทันต่อการปิดงบประมาณประจำปี  
การสร้างความสามัคคี อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือ โดยมีคณะปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่/บุคลากร ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ต้องร่วมกันวางแผนเพื่อลดความเสี่ยง
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์การติดตามการเบิก-จ่าย ตามระยะเวลาของแผนงาน/กิจกรรม/โครงการ การรายงานผลความก้าวหน้าเป็นระยะ เช่น รายเดือน รอบ ๓ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๑ ปี
การยอมรับหน่วยงานอื่น อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์การสร้างระบบเครือข่ายในการทำงานด้านการเงินและบัญชี ทั้งภายในและภายนอกเข้ามาตรวจสอบและติดตาม
การเคารพ กฎระเบียบ อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์การจัดองค์กร ต้องมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงภายในให้ทุกส่วนงานปฏิบัติตามกฎระเบียบในการกำกับดูแลความเสี่ยง
                         การปฏิบัติตามนโยบาย อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างองค์กร ให้รองรับและสอดคล้องการปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงาน การบริหารความเสี่ยง ให้เป็นไปตามนโยบายหน่วยงาน
การติดตาม อธิบายได้ว่า เป็นกลยุทธ์ในการรวบรวมหลักเอกสารและหลักฐาน การวางระบบเอกสาร ทางการเงินและบัญชีเกี่ยวกับการรับ การเบิก จ่าย จัดเอกสารข้อตกลงจัดซื้อ-จัดจ้าง สัญญาต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเดียวกัน โดยส่วนกลางกำหนดการลงพื้นที่ทำ Workshop   

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕