หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » เกี่ยวกับการศึกษา » คุณธรรมกับการพัฒนานักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา
 
เข้าชม : ๑๐๒๑๐ ครั้ง

''คุณธรรมกับการพัฒนานักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา''
 
พระมหาลิขิต รตนรํสี (2550)

คุณธรรมกับการพัฒนานักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา

[1] พระมหาลิขิต รตนรํสี

                                    

                        คำว่า "คุณธรรม" คือ สภาพคุณงามความดี และอีกหลายๆ  ศาสนากล่าวถึงเรื่อง  " คุณธรรม " ไว้เช่นกันว่าเป็นสภาพแห่งความดีงาม ความสุขุม และสันติสุข หรือ " เราจะบรรลุคุณธรรมได้ก็ต่อเมื่อเราบริจาคสิ่งที่เรารัก " และคุณธรรมนั้นยังมีความหมายที่เป็นเครื่องของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตใจทั้งโดยตรงและอ้อม ซึ่งนักปราชญ์หลายๆ  ท่านได้ให้ความหมายไว้ว่า

                   [2]คุณธรรม  หมายถึง  คุณสมบัติที่เป็นคนดี  ความถูกต้อง  ซึ่งมีอยู่ภายในจิตใจของบุคคล ซึ่งพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมต่างๆ  อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองต่อผู้อื่น  หรือทั้งตนเอง และผู้อื่น

                   [3]คุณธรรม  หมายถึง  หลักธรรม จริยธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในทางศีลธรรม มีคุณคุณภาพ ความภายในความดี คือ ความชื่นชม  ยกย่องในขณะที่การกระทำชั่วย่อมนำความเจ็บปวดมาให้การเป็นผู้มีคุณธรรมเป็นเกณฑ์สากลที่ตรงกัน เช่น การไม่ฆ่าสัตว์  ไม่เบียดเบียน  ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น  เป็นสภาพการณ์ของการกระทำความดี  คือ ความเหมาะตามควรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมด้วย  หลักจริยธรรมที่สามารถจำแนกได้  สามารถสั่งสอนอบรมให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีสติสัมปชัญญะ รับผิดชอบชั่วดี  ตามทำนองคลองธรรม มีจิตใจลักษณะนิสัยและความตั้งใจหรือเจตนาที่ดีงาม

                              [4]คุณธรรม หมายถึง  คุณธรรมที่บุคคลได้กระทำตามความคิดและมาตรฐานของสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องความประพฤติและศีลธรรม
                     
ลักษณะของนั้นคุณธรรมเป็นสิ่งละเอียดอ่อนอยู่ในจิตใจของแต่ละคน ไม่อาจวัดหรือควบคุมได้ด้วยกฎ ระเบียบ  หรือข้อบังคับใดๆ แต่ควบคุมด้วยจิตสำนึกของตนเอง ผู้ที่มีจิตสำนึกในคุณธรรมสามารถห้ามความคิดไม่ถูกต้องของตนองได้ และสามารถยับยั้งการกระทำที่ไม่สมควรและอาจสามารถควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีได้ จึงจะได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นคนดีอย่างแท้จริง เพราะว่า คนที่มีคุณธรรมจะต้องมีองค์ประกอบตามหลักดังต่อไปนี้

                 .  เป็นคนจริง 
               
. รู้จักควบคุมบังคับตนเอง
                
มีความอดกลั้น และอดทน
               
. รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตา
               
. มีวินัย รักษาหลักการ กฎ กติกา
               
. มีความสงสาร มีความอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ชื่นชมเมื่อผู้อื่นได้ดี                

                . รู้จักวางเฉย

          สิ่งที่จะเป็นพื้นฐานของนักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษายั่งยืนและมีความมั่นคง คือ  คุณธรรม เพราะว่าคุณธรรมมีลักษณะที่สำคัญทางด้านจิตใจมากที่สุด    และ[5]คุณธรรมยังมีความหมายสำคัญต่อบุคคล สังคม  และชาติบ้านเมือง  สังคมใดมีสมาชิกของสังคมที่ไร้คุณธรรม จำนวนมาก การทำงานในที่นี้ หมายถึงสังคมนั้นจะมีแต่ความวุ้นวายและยากแก่การพัฒนาในสังคม   โดยเฉพาะตามความหมายและประเภทของคุณธรรม จึงหมายถึง ความเคยชินในการประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่งตรงข้ามกับกิเลส ซึ่งได้แก่  ความเคยชินในการประพฤติผิดอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งคุณธรรมและกิเลสไม่มีขอบเขตที่แน่นอนสำหรับแบ่งประเภทย่อยลงไป  จึงไม่น่าแปลกใจที่มีแบ่งได้หลายวิธี  แม้จะแบ่งได้หลายวิธีหรือดีสักเพียงใด ก็อดที่จะเหลื่อมล้ำกันไม่ได้อยู่นั้นเอง  ซึ่งความประพฤติแต่ละครั้งสืบเนื่องมาจากคุณธรรมหลายอย่าง และเมื่อฝึกคุณธรรมใดคุณหนึ่ง คุณธรรมอื่นๆ  มักจะพลอยได้ไปด้วย  และทำนองเดียวกัน การปล่อยตัวให้กิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งมาเกาะกุมจะพลอยให้มีกิเลสอีกหลายๆ  อย่างติดตัวไปโดยอัตโนมัติ 

                   โดยธรรมชาติของคนไทยโดยทั่วๆ   ไปว่าเป็นคนเช่นไร คนไทยคนมีน้ำใจ อ่อนไหวในความรู้สึก ช่วยเหลือกันดี อบอุ่น คนไทยชอบคนอ่อนน้อม ถ่อมตน และติดดิน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประเทศไทยมีธรรมชาติที่เอื้อ ทำให้อยู่สบาย คนไทยจึงชอบความสบาย ชอบใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีสิ่งสำเร็จรูป  ไม่สู้สิ่งยาก คนไทยมักจะไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับคนอื่น หรือไม่กล้าออกความเห็น รวมทั้งระวังที่จะไม่ท้าทายความคิดเห็นของคนอื่น คนไทยไม่ชอบให้ใครตะคอกและขึ้นเสียง หรือไม่ชอบคนที่ทำตัวเก่งกล้าสามารถหรือคิดว่าตัวแน่

                  บางครั้งคนไทยนั้น ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากเกินไปจนมองข้ามกฎเกณฑ์ หลักการ ความชอบธรรม มีพรรคมีพวกและปกป้อง ส่วนคนต่างชาติ ส่วนใหญ่จะมีวินัย ถือกฎเกณฑ์เป็นใหญ่  กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับคนอื่น กล้าออกความเห็น แสดงถึงความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในงานของตน มุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ คนต่างชาติมีชีวิตแบบตัวใครตัวมัน มีความเครียดสูง ว้าเหว่ มีความกดดันสูง แต่ถ้าเราลองกลับไปทบทวนดูตามหลักคุณธรรมที่กล่าวไว้ซึ่งจะเป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งดีๆของคนไทยและชาวต่างชาติ และถ้าทุกฝ่ายซึ่งได้แก่ คณะครู ผู้ปกครอง ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความร่วมมือกัน ฝึกและนำปรับมาใช้กับนักเรียนด้วยปัญญาที่เปี่ยมด้วยความเมตตา เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตขึ้นจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรม เป็นคนดีอย่างแท้จริง

 

 

                        การที่เยาวชนของไทยจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีพื้นฐานของความเป็นคนดีมีคุณธรรม  ซึ่งคุณธรรมที่เหมาะสมจะพัฒนาทางด้านจิตใจของเยาวชนให้มาเป็นอผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้น คือ คุณธรรม

โดยมีหลักของคุณธรรมที่ถูกต้องของมนุษย์ที่สมบูรณ์   ดังต่อไปนี้

 

. คุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์มี ประการ คือ

                        . มีจิตใจเคารพในชีวิตและร่างกายของผู้อื่น ไม่มุ่งทำร้ายผู้อื่น

                        . มีจิตใจเคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ทุจริตฉ้อโกง

                        . มีจิตใจเคารพและยินดีในคู่ครองของตน ไม่ประพฤติผิดในกาม

                        . มีจิตใจเคารพในความจริง ไม่หลอกลวงกล่าวเท็จ

                        . มีจิตใจเคารพในศักดิ์ศรีของตน ไม่เกี่ยวข้องสิ่งเสพติดให้โทษ

. คุณธรรมที่ถูกต้องอันพึงประสงค์ของมนุษย์มี   ประการ  คือ

                        . รู้จักเสียสละ ซื่อสัตย์ กตัญญู

                        . รู้จักข่มใจ ฝึกใจตนเอง

                        . รู้จักอดทน อดกลั้น อดออม

                        . รู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต

                        . รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

 . สิ่งที่เป็นพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์ที่ควรงดเว้น มีดังนี้

                              . การเว้นสิ่งที่ควรเว้น     มีดังนี้

                                        . อคติ คือความลำเอียง มี อย่าง คือ

                                               . ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะมีความรักใคร่สนิทสนมกัน หรือ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในฐานะต่างๆ

                                               . โทสาคติ  คือ ลำเอียงเพราะมีความไม่ชอบพอกัน, ไม่ถูกใจกัน, มีเรื่องกระทบกระทั่งกัน, มีความบาดหมางกัน หรือมีความโกรธแค้นกัน

                                               . โมหาคติ                      คือลำเอียงเพราะมีความหลงผิดเป็นชอบ, หลงงมงาย ไม่รู้แจ้งเห็นจริงในภารกิจหรืองานที่มอบหมาย หรือความลำเอียงเพราะความลุ่มหลง           ในอิฎฐารมณ์ และอารมณ์ที่น่าปรารถนา กล่าวคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

                                               . ภยาคติ  คือ ลำเอียงเพราะมีความกลัว, มีความเกรงใจ, มีความหวาดระแวง, มีความหวั่นไหว, เกรงกลัวอิทธิพล และเกรงกลัวอำนาจ

                        ถ้าอคติมีความลำเอียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง มีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้น จะไม่มีความอาจหาญ หรือแกล้วหล้าที่จะตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้องได้ อันเป็นเหตุให้ “เสียความยุติธรรม”

                        . ทุจริต  ือ ความประพฤติผิด   ประการ

                                 . กายทุจริต  คือ ประพฤติผิดทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

                                 . วจีทุจริต คือ ประพฤติผิดทางวาจา คือคำพูด เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดคำเพ้อเจ้อ

                                 . มโนทุจริต คือ ประพฤติผิดทางใจ เช่น โลภ  คือ  อยากได้ของผู้อื่น, พยาบาทปองร้ายผู้อื่นและมิจฉาทิฎฐิ–เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
 

                               .  การประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ   มีดังนี้

 

                                 . พรหมวิหารธรรม คือ หลักธรรม เพื่อการดำรงชีวิตอย่างประเสริฐ ประการ

                                               . เมตตา คือ ความรักใคร่, ความเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อผู้อื่น, ความหวังดี, ความปรารถนาดี, ความมุ่งดี-มุ่งเจริญต่อผู้อื่น

                                               . กรุณา คือ ความสงสาร, มีจิตคิดจะช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่น, ความเป็นผู้มีน้ำใจ

                                               . มุทิตา คือ ความยินดี, ความเป็นผู้มีจิตคิดที่จะสนับสนุนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ผู้อื่น, การแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของผู้อื่น

                                               . อุเบกขา คือ ความวางเฉย, ความเป็นกลาง, ความยุติธรรม, ความเป็นธรรมในทุกสถานการณ์

                                 . สังคหวัตถุ คือ หลักการสังคมสงเคราะห์/หลักมนุษยสัมพันธ์ ประการ

                                               . ทาน คือ การให้ ให้รู้จักให้แก่ผู้ที่ควรให้ ด้วยสิ่งของที่ควรให้ ทั้งอามิสทาน-ให้ด้วยวัตถุสิ่งของ และธรรมทาน-ให้ด้วยธรรมะ-ข้อคิด คติธรรม แนวทางดำเนินชีวิต

                                               . ปิยวาจา คือ เจรจาไพเราะ, พูดคำอ่อนหวานประสานสัมพันธ์, พูดคำเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน, พูดคำสัตย์คำจริงที่เป็นประโยชน์

                                               . อัตถจริยา คือ ประพฤติประโยชน์บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง, สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสงบสุขแก่สังคม หรือหน่วยงาน ให้ประพฤติสิ่งนั้นและปฏิบัติสิ่งนั้น ด้วยความสุขุมรอบคอบ

                                               . สมานัตตา คือ วางตนเหมาะสม ให้ประพฤติ – ปฏิบัติ – ดำรงตน และวางตนอย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์ ให้มีกิริยามารยาทที่พึงประสงค์ในการทำงานตามหน้าที่

 

          ถ้าเยาวชนในยุคปฏิรูปการศึกษานี้  มีพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็จะทำไม่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมพื้นฐาน คือ สถาบันครอบในสังคมไทย เพราะไม่มีคุณธรรมเป็นตัวตั้ง แต่ไปยึดเอาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นตัวตั้ง จึงทำให้จิตใจของเยาวชนไม่เกิดเจริญไปตามความทันสมัยในด้านต่างๆ  แต่ถ้าว่า เยาวชนไทยนั้น  โดยเฉพาะนักเรียนที่ถือว่าเป็นผู้ที่จะพัฒนาประเทศชาติให้ดำรงอยู่ได้ และสามารถดำรงตนเองอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้นั้น  สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้องยึดเอาคุณธรรมเป็นตัวตั้ง  ดังรูปที่ปรากฏ

                                                               เศรษฐกิจ

                         สิ่งแวดล้อม                                                    ครอบครัว

 

คุณธรรม

 


                   การศึกษา                                                                     วัฒนธรรม

 


                                                                                                                                          

                              สังคม                                                                          การเมืองการปกครอง

                                                          ชุมชน        

 

                    การที่นักเรียนจะอยู่ได้อย่างมีความสุขนั้นต้องมีคุณธรรมเป็นตัวตั้งของการพัฒนาทุกชนิด     วิกฤตการณ์ทางความเสื่อมทางคุณธรรมที่ขาดหายไปจากจิตใจของเยาวชนที่เป็นนักเรียน ที่ทำให้เกิดผลกระทบหลายๆ  อย่างตามมา เพราะเยาวชนเหล่านั้นเอาตัวตั้งตัวอื่นเป็นศูนย์กลาง จึงทำให้วิธีคิดของเยาวชนเองไม่เป็นไปตามวิธีคิดของคนในแบบยุคสมัยโบราณที่เขามีวิธีคิดเชิงคุณธรรม ซึ่งเป็นวิธีคิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  จึงกล่าวได้ว่า  ตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ มีวิธีคิดแบบเชิงคุณธรรม

          การจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาให้คนไทยได้รับการศึกษาทุกคน เพื่อความเจริญงอกงาม และเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ  และมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง  ดังรูปต่อไปนี้

มีความรู้ค่คุณธรรม

จิตใจสมบูรณ์
 


มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง

สติปัญญาดีเลิศ

อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขที่มั่นคง

 

 

 

          [6]ชีวิตที่สมบูรณ์แบบจะก้าวหน้า  ถอยหลังขึ้นหรือลง สุขหรือทุกข์  เสื่อมหรือเจริญ ขาดทุนหรือกำไร ใช่จะอยู่ที่สมบัติภายนอกคือสังขารร่างกายก็หาไม่ สิ่งสำคัญที่สุด ได้แก่สมบัติภายในคือจิตใจที่ประกอบด้วยคุณธรรม  สมดังพุทธภาษิตที่ว่า 

                   กมฺมํ  วิชฺชา   ธมฺโม                   สีลํ  ชีวิตมุตฺตมํ

                   เอเตน  มจฺฉา  สุชฺฌนฺติ                    โคตฺเตน  ธเนน  วา.

          กรรม (การงาน)     วิชชา (ความรู้)    ธรรม (สภาวะที่ทรงไว้มิให้ตกไปในทางชั่ว)   ศีล

(การรักกาย วาจา  ใจ ดีงามด้วยสิ่งทั้ง   นี้  หาใช่ด้วยตระกูลหรือทรัพย์ไม่ฯ

             เห็นได้ว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่บันดาลให้ทุกอย่างดีนั้น  คือ ธรรมะหรือคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ นักกวีท่านหนึ่งแต่งเสริมไว้น่าฟังว่า

                   อันคนดี             มิใช่ดี               ด้วยที่ทรัพย์

                   มิใช่นับ             โคตรเหง้า เผ่าพงศา

                   คนดีนี้                        ดีด้วยการ  งานนานา

                   อีกวิชา                       ศีลธรรม   นำให้ดี

          ความดีความสุขที่ชีวิตได้รับ  มีอะไรบ้าง  ที่มิใช่เป็นผลของการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม  ทำให้นึกถึงคำที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า

                   ต้องการสุขกาย                                    ให้ขวนขวายทำดี

                   ต้องการเป็นเศรษฐี                       ให้รู้จักประหยัด

                   ต้องการสมบัติ                                    ให้กตัญญู

                   ต้องการความรู้                                    ให้คบบัณฑิต

                   ต้องการมีมิตร                                     ให้เสียสละ

                   ต้องการพละ                                      ให้บริหารร่างกาย

                   ต้องการผู้อุปถัมภ์                         ให้มีความขยัน

                   ต้องการสมัครสมาน                      ให้มีความสามัคคี

                   ต้องการเป็นคนดี                         ให้มีศีลธรรม

                   ต้องการไม่มีคดีความ                      ให้รู้จักหยุดฯ

 

 

 

                   เด็กนักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษานี้  สิ่งที่จะทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมในอนาคตนั้น  ต้องมีการฉีดวัคซีนทางจิต เพื่อที่จะให้นักเรียนไม่หลงทางโลก   และหลงผิดไปตามยุคโลกาภิวัฒน์ที่ไร้พรมแดน ถ้าผู้จะปฏิรูปการศึกษาให้เต็มรูปแบบให้ครบทุกกระบวนการต้องไม่ให้นักเรียนเรียนขาดวัคซีนทางจิต ถ้ามิได้ฉีดเชื้อหรือภูมิต้านทานไว้ก่อน  ดังคำที่เขากล่าวไว้ว่า “ถ้าสติมาปัญญาจะเกิด ถ้าสติเตลิดจะเกิดปัญหา”  นักเรียนก็จะเห็นผิดเป็นชอบ   ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีดีมีเลว  นักเรียนดุจผ้าขาวที่บริสุทธิ์สะอาด แต่ถ้าผ้าขาวต้องเศร้าหมอง  ก็เพราะธุลีมาบดบัง    นักเรียนก็จะถูกความชั่ว คือ ตัวกิเลสมันจับใจ  การที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนดีต้องทำลายความชั่ว (กิเลส) ให้หมดไป  สิ่งต่างๆ    ที่เป็นความชั่วก็จะค่อยละลายหายไปในที่สุด  นักเรียนก็เติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะเขาเหล่านั้น ได้ฝึกฝน อบรม ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ   ดังคำพระที่กล่าวไว้ว่า  “ทนฺโต  เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ”   ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว  ถือว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 

         

เอกสารอ้างอิง

 ยนต์  ชุ่มจิต. ความเป็นครู.  กรุงเทพฯ โอเดียนสโตร์,  ๒๕๓๐ 

 ประภาศรี  สีหอำไพร.  พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริธรรม.  กรุงเทพฯ :

                                 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕)  หน้า ๒๘

วิทยา  ทองดี. พื้นฐานการศึกษา. ขอนแก่น :โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,  ๒๕๔๔

พระพิจิตรธรรมวาที (ชัยวัฒน์  ธมฺมวฑฺฒโน).  เทศนาวาไรตี้. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง, ๒๕๓๙

 

         

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



[1] ป.ธ ๔,พธ.บ.,กศ.ม, รักษาการหัวหน้าหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
              วิทยาลัยสงฆ์เลย                   

[2]  ยนต์  ชุ่มจิต. ความเป็นครู. ( กรุงเทพฯ  โอเดียนสโตร์,  ๒๕๓๐)  หน้า   ๒๐๗

[3] ประภาศรี  สีหอำไพซ พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริธรรม.  (กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕)  หน้า ๒๘

[4] วิทยา  ทองดี. พื้นฐานการศึกษา. (ขอนแก่น .โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,  ๒๕๔๔)   หน้า ๒๔

[5] วิทยา  ทองดี. พื้นฐานการศึกษา. (ขอนแก่น .โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,  ๒๕๔๔)   หน้า ๒๕

 

[6] พระพิจิตรธรรมวาที (ชัยวัฒน์  ธมฺมวฑฺฒโน).  เทศนาวาไรตี้. (กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง, ๒๕๓๙)  หน้า   ๒๐๗ - ๒๐๘

(ที่มา: วิทยาลัยสงฆ์เลย)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕