หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » โดย ผศ.ดร. สมิทธิพล เนตรนิมิตร » คัมภีร์ ในฐานะที่เป็นแผนที่สำหรับผู้เดินทาง
 
เข้าชม : ๑๗๑๖๐ ครั้ง

''คัมภีร์ ในฐานะที่เป็นแผนที่สำหรับผู้เดินทาง''
 
ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร (2548)

ยุคสารสนเทศอย่างทุกวันนี้ ถ้าหากมีใครอ้างหลักตัดสินความเชื่อในกาลามสูตร ที่ว่า อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา[1] คงต้องย้อนถามว่า  ถ้าไม่เชื่อตำราแล้วจะเชื่ออะไร ปัจจุบันองค์ความรู้หลากหลาย ทั้งความเสื่อมความเจริญล้วนมีอยู่ในตำราหรือไม่ก็รวบรวมไว้ในตำรา แม้หลักการที่บอกว่าอย่าเชื่อโดยอ้างตำราก็มาจากแหล่งในตำราเช่นกัน การเชื่อหรือไม่เชื่อตำรา วิธีไหนมีโอกาสผิดพลาดมากกว่ากัน หรือว่ามีโอกาสผิดพลาดได้เท่ากัน

เมื่อศึกษาแหล่งข้อมูล ตำราระบุว่าการประพฤติธรรม(พรหมจรรย์) ถ้าหากอ้างตำราก็น่าตำหนิ ในยุคที่วิชาชีพไม่มีในตำหรับตำรา ผู้คนอาศัยความถนัด ความจัดเจนคือทักษะ ไม่ว่าจะฝึกสัตว์ ฝึกใช้อาวุธ เป็นทหาร เป็นช่างดอกไม้ เป็นช่างหูก เป็นช่างตัดผม เป็นช่างจักสาน เป็นช่างหม้อ เป็นพ่อครัว เป็นนักคำนวณ ล้วนแต่ต้องอาศัยความเจนจัด จะต้องมีความชำนาญหรือฝึกให้มีทักษะในเรื่องนั้น อย่างหมอชีวกโกมารภัจ แพทย์หลวงกรุงราชคฤห์ เรียนแพทย์จบเพราะความจำดีเยี่ยม จำชื่อสมุนไพรได้มาก เป็นเภสัชกรชั้นบรมครูรู้วิธีจัดปรุงสมุนไพร มีทักษะการประกอบยารู้พืชพันธุ์ไม้ต่างชนิดว่านำมาทำยาได้ทุกอย่าง ส่วนผู้ที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนต้องไปหาครูบาอาจารย์ จำสิ่งที่ครูบอกสิ่งที่ครูสอน การจำก็ต้องท่องต้องสาธยาย สาธยายรวมเป็นกลุ่มกันหรือแยกกัน เมื่อจำได้ต้องหมั่นทบทวน เหมือนที่พระอนุรุทธะสาธยายธรรมบท พระโสณกุฏิกัณณะสาธยายอัฏฐกวรรค นันทมารดาท่องสาธยายปารายนวรรค ผู้ที่คงแก่เรียนต้องฟังต้องจำให้ได้มาก ท่องให้คล่องแคล่ว พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรมยังได้บอกให้ภิกษุตั้งใจฟัง พระอุบาลีผู้เป็นเลิศในด้านกฎหมายคือวินัยก็บอกภิกษุให้จำวินัย

          จึงเห็นได้ว่า มีแต่เหตุการณ์ที่บอกให้ตั้งใจฟัง บอกให้ท่อง บอกให้จำ

แต่ทว่าการเล่าเรียนด้วยวิธีท่องสาธยายมีข้อจำกัด มีโอกาสผิดพลาดหากจำไม่แม่น การท่องสาธยายจึงไม่ใช่วิธีการที่น่าเชื่อถือไปเสียทั้งหมด ดังความที่ว่า “ภิกษุในธรรมวินัยเล่าเรียนพระสูตรที่เรียนกันมาไม่ดีด้วยบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี ก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี” เพราะว่าสิ่งที่ท่องจำอาจคลาดเคลื่อนผิดพลาด

มีคำทำนายว่า ในอนาคต (ปัจจุบันนี้) เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปรไป คนจะสนใจตำหรับตำรา ในยุคที่มีตำราเฟื่องฟูมาก จะมีคนแต่งเติมพระพุทธวจนะ พระพุทธวจนะเหมือนดังตะโพนเก่าที่ต้องซ่อมแซม ซ่อมมากเข้า   โครงไม้เดิมหมดไปจนหาไม้เดิมไม่ได้ เหลือแต่เพียงลิ่ม แต่ไม่มีการทำนายว่าพระพุทธวจนะจะไปอยู่ที่ไหนบ้าง ทุกวันนี้ เราจะเห็นว่า “ตะโพน” อยู่ในตำราหรือไม่ก็ถูกเก็บอยู่ในซีดีรอม 

. การรักษาคำสอนในรูปนิกาย

          ระหว่างพุทธศักราช ๑๐๐–๒๐๐ ชาวพุทธผู้มีทัศนคติไม่ลงกันแยกเป็นกลุ่มนิกายมากมายหลายกลุ่ม ที่เป็นนิกายใหญ่มี ๑๘ นิกาย  นิกายย่อยมี ๔๘๘ นิกาย เวลานั้นนิกายที่มีตำราเป็นของตนเองได้เป็นนิกายหลักในเวลาต่อมาก็คือ นิกายเถรวาทและนิกายมหายาน ถ้าหากว่าสองนิกายนี้ไม่มีตำรา ป่านนี้คงสูญหายไปเหมือนกับนิกายอื่น ครั้นสองนิกายนี้เผยแผ่ไปคนละทิศทาง เรื่องราวเหตุการณ์จึงแตกต่างกันทั้งในทางภูมิศาสตร์และทางประวัติศาสตร์ ทั้งหลักการและวิธีการ ความแตกต่างรวมไปถึงภาษาที่ใช้อีกด้วย การใช้ภาษาต่างกันนี่แหละเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้แหล่งข้อมูลไม่ตรงกัน

          . ยุคตำราของนิกายเถรวาท  

          เรื่องราวที่สืบทอดมานับพัน ปี บางเรื่องหาข้อยุติแบบฟันธงได้ยาก ประวัติศาสตร์ของนิกายเถรวาทยุติตามหลักฐานลังกาที่ระบุว่า หลังการสังคายนาครั้งที่ พระมหินทเถระนำพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปลังกาได้จารึกเป็นอักษรในสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย พระเถระของลังกายุคนั้นได้แปลคัมภีร์เป็นภาษาสิงหล ต่อมาพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวอินเดีย เดินทางมาปริวรรตคัมภีร์สิงหลนั้นเป็นตันติภาษาคือภาษาบาลี

ตำราหลัก(พระไตรปิฎก)ของนิกายเถรวาทที่สืบทอดมาถึงทุกวันนี้  โบราณาจารย์จัดไว้เป็นหมวดหมู่ อ้างอิงสืบทอดกันมาหลายยุคสมัยวิวัฒนาการมาโดยลำดับ เริ่มแต่ท่องสาธยาย จารึก จนเป็นเล่มหนังสือ เหตุที่ต้องจารึกก็เพื่อความสะดวก เพราะอุปสรรคเช่นภาวะสงครามหรือเกิดทุพภิกขภัย ครั้งแรกจารึกที่อาลุวิหาร ในเกาะลังกา รัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามณี ระหว่าง .. ๓๖๖–๔๔๒ (ผู้รู้บางคนเห็นว่า พระพุทธวจนะบางส่วนบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช)

ยุคคุปตะ ระหว่างปีพุทธศักราช ๘๖๓–๑๑๑๘* ถือว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย คัมภีร์สันสกฤตและบาลีรุ่งเรืองที่สุด มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุเช่น เหรียญตรา พระพุทธปฏิมา รูปพระโพธิสัตว์ รวมทั้งสถูปในอินเดียตอนเหนือ (ในประเทศปากีสถานและอัฟกานิสถาน)

          ในนิกายเถรวาท โบราณาจารย์ผู้สืบทอดพระพุทธวจนะมาจากสังคายนาครั้งแรก ที่เป็นชาวอินเดีย (ชัมพูทีปกาจารย์) ระบุชื่อ ๑๒ คน  ที่เป็นชาวลังกา (ลังกาทีปกาจารย์) ระบุชื่อ ๕๓ คน ชาวพุทธเรียกท่านเหล่านั้นด้วยความเคารพว่า พระโบราณาจารย์บ้าง พระอรรถกถาจารย์บ้าง พระคันถการกาจารย์บ้าง  พระสังคีติกาจารย์บ้าง  พระธัมมสังคาหกาจารย์บ้าง พระคันถรจนาจารย์บ้าง

พระอรรถกถาจารย์หมายถึงผู้ที่รู้ความประสงค์ของพระพุทธเจ้า (อฏฺฐกถาจริยา หิ พุทฺธสฺส    อธิปฺปายํ ชานนฺติ)

บรรดาพระอรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ มหากวีชาวอินเดีย มีชีวิตอยู่ในยุคคุปตะ (กุมารคุปตะ) มีบทบาทสำคัญที่สุดในการนิพนธ์คัมภีร์ของนิกายเถรวาท 

พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพราหมณ์เจนจบเรื่องคัมภีร์ไตรเพท ศึกษาไวยากรณ์ของท่านปาณินิ ชำนาญในปรัชญาโยคะและปรัชญาสังขยา เคยนับถือท่านปตัญชลี ไม่น่าแปลกใจเลยที่พระพุทธโฆษาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญภาษาสันสกฤต ทั้งมีความรู้เรื่องของพราหมณ์เป็นอย่างดี[2]

ในคัมภีร์ของนิกายเถรวาท หนังสืออธิบายพระไตรปิฎก(อรรถกถา)บางส่วนจัดรวมอยู่ในพระไตรปิฎก  (ติปิฏกสงฺคหิตํ  สาฏฺฐกถํ)  พระไตรปิฎกมีสุภาษิตมากมาย  ได้แก่ 

. พุทธภาษิต  ภาษิตของพระพุทธเจ้า คือ วินัยปิฎก ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ  ชาดก จริยาปิฎก อภิธรรมปิฎก  พระสูตร  ต่าง เช่น พรหมชาลสูตร  

. สาวกภาษิต   ภาษิตของพระสาวก

คือ ภาษิตของพระสารีบุตร ได้แก่ ธัมมทายาทสูตร  อนังคณสูตร  สัมมาทิฏฐิสูตร  จูฬสีหนาทสูตร    มหาสีหนาทสูตร  รถวินีตสูตร  มหาหัตถิปโทปมสูตร  มหาเวทัลลสูตร  วัตถูปมสูตร  ทีฆนขสูตร  อนุปทสูตร  เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร  สัจจวิภังคสูตร   สัมปสาทนียสูตร สังคีติสูตร ทสุตตรสูตร  ปวารณาสูตร    สุสิมสูตร  มหานิทเทส  ปฏิสัมภิทามรรค

ภาษิตของพระมหาโมคคัลลานะ คือ อนุมานสูตร  จูฬตัณหาสังขยสูตร  มารตัชชนียสูตร    อิทธิปาทสูตร  วิมานวัตถุ   เปตวัตถุ 

ภาษิตของพระมหากัสสปะ  คือ  กัสสปสังยุต  มหาอริยวังสสูตร 

ภาษิตของพระอนุรุทธะ คือ จูฬโคสิงคสูตร  นฬกปานสูตร  อนุตตริยสูตร  อุปักกิเลสสูตร     อนุรุทธสังยุต   มหาปุริสวิตักกสูตร 

ภาษิตของพระอานนท์  คือ เสขสูตร พาหิติยสูตร อเนญชสัปปายสูตร โคปกโมคคัลลานสูตร พหุธาตุกสูตร จูฬสุญญตสูตร มหาสุญญตสูตร อัจฉริยัพภูตสูตร ภัทเทกรัตตสูตร มหานิทานสูตร มหาปรินิพพานสูตร สุภสูตร จูฬนิยโลกธาตุสูตร เป็นต้น

. อิสิภาษิต  ภาษิตของนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา เช่น ภาษิตในปริพพาชกวรรค ภาษิตของพราหมณ์พาวรีกับศิษย์  ๑๖ คน 

. เทวตาภาษิต ภาษิตของอมนุษย์ คือ  ภาษิตในเทวตาสังยุต เทวปุตตสังยุต พรหมสังยุต  สักกสังยุต  เป็นต้น

ในพระสุตตันตปิฎก เนื้อความที่ไม่จัดไว้ในพระสูตร ๑๒ หมวด คือ ปฏิสัมภิทามรรค  นิทเทส  ธรรมบท  อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก และอปทาน  พระสูตรที่ระบุว่าเกิดภายหลังพุทธกาล คือ อัฏฐกนาครสูตร  มถุรสูตร โฆฏมุขสูตร โคปกโมคคัลลานสูตร พักกุลัตเถรัจฉริยสูตร และนารทสูตร เป็นต้น  

เหตุการณ์ยุคต่อมาเช่นการสังคายนาครั้งที่ และครั้งที่ รวบรวมไว้ในวินัยปิฎก พระสัมภูตสาณวาสี พระขุชชโสภิตะและพระสัพพกามีผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสังคายนาครั้งที่ มีประวัติในคัมภีร์เถรคาถา ชื่อเมืองปาฏลีบุตรในสมัยพระเจ้าอโศกมีในวินัยปิฎกและสุตตันตปิฎก ทั้งระบุด้วยว่ากถาวัตถุ(ในอภิธรรมปิฎก)และสมถขันธกะกับปริวาร(ในวินัยปิฎก)มีวิวัฒนาการในยุคต่อมา      

จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธวจนะมีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎกมิใช่เป็นพระพุทธวจนะทั้งหมด

. ยุคตำราของนิกายมหายาน     

ในทรรศนะของเรียวกัน กิมุระ (R. Kimura)   ในสมัยพระเจ้าอโศก พระพุทธศาสนามีศูนย์กลางอยู่ที่กุกกุฏาราม  ปาฏลีบุตร เวลานั้น พระสงฆ์มี กลุ่ม คือ  สถวีระ(เถรวาท)กับมหาสังฆิกะ  สถวีระมีกลุ่มผู้นับถือวินัย(วินยภาณิกะ)แยกไปทางอินเดียใต้จนถึงลังกา กับผู้นับถือพระสูตร(สุตตภาณิกะ)แยกไปทางอินเดียเหนือจนถึง แคชเมียร์ กลุ่มนี้เดิมทีเป็นสถวีระ เมื่อขึ้นไปอยู่ทางเหนือได้รับอิทธิพลฝ่ายมหาสังฆิกะที่อยู่มาก่อนจึงได้ชื่อเป็นสรวาสติวาทิน แต่คงเป็นสถวีระเหมือนเดิม มหาสังฆิกะ(มหายาน)เรียกพวกสรวาสติวาทินให้ดูต่ำกว่าพวกตนเองว่าหินยาน  กลุ่มสถวีระ(วินยภาณิกะ) ที่แยกไปทางใต้พลอยถูกกระทบไปด้วย  จึงกลายเป็นหินยานไป เมื่อแยกกันในคราวแรก กลุ่มที่ลงไปใต้ก็ไม่ยอมรับกลุ่มสรวาสติวาทินนั้นอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น ถึงได้ชื่อเป็นหินยานเหมือนกัน แต่ยังถือหลักการและวิธีการไม่ตรงกัน เวลานั้นจึงมีหินยาน กลุ่ม  กลุ่มหินยานเหนือใช้ภาษาสันสกฤต กลุ่มหินยานใต้ใช้ภาษาบาลี

          ทรรศนะในเรื่องนี้สอดคล้องกับอรรถกถาของเถรวาทที่ระบุว่า วินัยเป็นอายุของพระศาสนา (วินโย นาม พุทฺธสาสนสฺส อายุ) แต่นิกายเถรวาทในลังกาบอกว่า คำนี้เป็นมติของพระอรหันต์ก่อนการสังคายนาครั้งแรก ในอินเดีย

            ราวพุทธศักราช ๖๐๐ ปี กลุ่มมหาสังฆิกะสังคายนาคัมภีร์สันสกฤตทางอินเดียเหนือ จึงเป็นเหตุให้ภาษาสันสกฤตรุ่งเรืองอยู่ในแถบเอเชียกลางพร้อมกับความรุ่งเรืองของกลุ่มมหาสังฆิกะ

มหายานรับอิทธิพลมาจากลัทธิลึกลับในเปอร์เซีย อียิปต์ ลัทธิฮินดู และศาสนาเชน บวกกับความเชื่อของคนหลายเผ่าพันธุ์ มีพัฒนาการ ตอน คือ ที่ยังไม่เป็นระบบกับที่เป็นระบบแล้ว ใน วรรณคดีของมหายานดาษดื่นไปด้วยเรื่องราวในทางตำนาน ใช้ถ้อยคำเกี่ยวกับอมตภาวะ เช่น Supreme Spirit, Self-existent, Great Father, World-Father, Rule of the Triple World, Greator, Destroyer, Physician ถึงจะยอมรับหลักการบางอย่างไปจากเถรวาทก็ได้เพิ่มวิธีปฏิบัติอย่างอื่น เช่น นิกายเถรวาทมีนวังคสัตถุศาสน์(คำสอนมีองค์ อย่าง) นิกายมหายานเพิ่มเป็น ๑๒ อย่าง คือ นิทาน อวตาร และอุปเทส  

พัฒนาการของนิกายมหายานไปตรงกับคำทำนายที่ว่า “เป็นเรื่องของกวี  มีพยัญชนะวิจิตร  เป็นเรื่องภายนอก สาวกภายนอกแต่งขึ้น”

           การศึกษาสันสกฤตที่เป็นไปอย่างแพร่หลาย สาเหตุหนึ่งเพราะ นาย บี. เอ็ช. ฮอดจ์สัน (B. H. Hodgson) ชาวอังกฤษ เจ้าหน้าที่กงศุลเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ได้พบคัมภีร์ภาษาสันสกฤตระหว่างที่ปฏิบัติงานอยู่ในปี พ. . ๒๓๗๐–๒๓๘๘ (. . 1827–1845)* นายฮอดจ์สันพบคัมภีร์สันสกฤต ๓๘๑ ผูก ซึ่งก่อนนั้นนอกจากคัมภีร์บาลียังไม่มีใครรู้จักคัมภีร์พระพุทธศาสนาในภาษาอื่น  ไม่ว่าชาวยุโรป ชาวจีน ชาวญี่ปุ่น หรือแม้ชาวอินเดียเอง นายฮอดจ์สันส่งคัมภีร์ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหลายฝ่าย ทั้งในประเทศอินเดียและหลายประเทศในยุโรป การศึกษาคัมภีร์สันสกฤตเป็นการค้นคว้าในเรื่องของมหายาน จึงทำให้นิกายมหายานเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป 

          . การศึกษาตีความคัมภีร์

 ในยุคที่ชาวตะวันตกศึกษาพระพุทธศาสนา ชาวอังกฤษ ชื่อ โทมัส วิลเลียม รีส เดวิดส์   (T. W. Rhys Davids)[3] ได้ก่อตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ (The Pali Text Society) พิมพ์คัมภีร์บาลีเผยแพร่  T. W. Rhys Davids เห็นว่า พระไตรปิฎกมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับจากพุทธกาลจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เริ่มที่มีพระพุทธวจนะสั้น คำประพันธ์เรียกว่าคาถา เนื้อความซ้ำ บ่งร่องรอยให้รู้ว่ามีการท่องสาธยาย ศาสตราจารย์รีส เดวิดส์เชื่อว่ายุคแรกมีเพียง นิกายเท่านั้น คือ () ทีฆนิกาย () มัชฌิมนิกาย () สังยุตตนิกาย () อังคุตตรนิกาย ส่วนขุททกนิกาย มีในยุคต่อมา

บี. ซี. ลอว์ (B. C.  Law) ปราชญ์ชาวอินเดีย  แบ่งเหตุการณ์ในพระไตรปิฎกไว้    ยุค คือ

.  พระเจ้าพิมพิสาร (อชาตศัตรู) .. ๖๐–๑๖๐     (ปลายพุทธกาล)

. พระเจ้ากาลาโศก                     .. ๑๖๐–๒๗๘  (หลังพุทธกาลในอินเดีย)

. พระเจ้าอโศกมหาราช              .. ๒๗๘–๓๑๓  (หลังพุทธกาลในอินเดีย)

.  พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ        .. ๓๑๓–๔๖๓  (หลังพุทธกาลในลังกา)

. พระเจ้าทุฏฐคามณี                   .. ๔๖๓–๕๒๓  (หลังพุทธกาลในลังกา)

เรื่องราว เหตุการณ์ สถานที่ รวมทั้งบุคคลในประวัติศาสตร์ ทำให้รู้ได้ว่าพระไตรปิฎกพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย[4]

             ยุคต้น คำสอนของพระพุทธเจ้ามุ่งไปที่ความหลุดพ้นเท่านั้น แต่ยุคต่อมา ชาวพุทธก็พร้อมจะอธิบายคำสอนอย่างเทพนิยายแก่ผู้ที่ชอบคิดอะไรด้วยภาษาของเทพนิยายและพร้อมที่จะอธิบายคำสอนเชิงปรัชญาให้แก่ผู้ที่คุ้นเคยกับแนวคิดในเชิงปรัชญา

           การศึกษาตีความคัมภีร์ เมื่อต่างคนต่างศึกษาก็อาจตีความหรือมีทรรศนะแตกต่างกันออกไป   บางคนมุ่งประวัติศาสตร์ บางคนมุ่งปรัชญา บางคนมุ่งวรรณกรรม  บางคนมุ่งศึกษาหลายด้านหลายอย่าง ใครจะเน้นหนักไปด้านไหนก็อยู่ที่ภูมิหลังของผู้นั้นนั่นเอง    

           สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ จำเป็นต่อการศึกษาตีความอย่างมาก ตัวอย่างภูมิศาสตร์ในสุตตันตปิฎก คือ พระสูตรในนิทานวรรค สังยุตตนิกาย “เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละเคยมีชื่อว่าปาจีนวังสะของคนเผ่าติวรา เดินขึ้นลงในเวลา    วัน...เคยมีชื่อว่าวงกตของคนเผ่าโรหิตัสสะ เดินขึ้นลงในเวลา   วัน…เคยมีชื่อว่าสุปัสสะของคนเผ่าสุปปิยา เดินขึ้นลงในเวลา   วัน…เคยมีชื่อว่าเวปุลละของคนเผ่าเวปุลละ”     เมื่อจบพระสูตรนี้ สรุปอนิจลักษณะว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นใจ ควรเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ควรหลุดพ้นไปจากสังขาร     (สํ. นิ. ๑๖/๑๔๓/๑๘๓) ผู้ศึกษาย่อมจะทราบได้ว่าพระสูตรนี้สอนอนิจลักษณะ  แต่ที่เหนือไปกว่านั้น พระสูตรนี้ให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ของชมพูทวีปอีกด้วย บอกความเป็นไปของภูเขาเวปุลละซึ่งเป็นหนึ่งในเบญจคีรีมีชื่อต่างกันหลายยุคสมัย หรือบางประเด็นในมหาปรินิพพานสูตร เช่นการเตรียมผ้าใหม่ไว้เพื่อห่อพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ใส่น้ำยาแช่ลงในรางเหล็ก (ที.. ๑๐/๒๐๕/๑๒๔) ก็ทำให้นึกไปถึงวิธีเก็บรักษาศพ(มัมมี)สมัยโบราณ ทั้งเรื่องราวต่าง ในราชสำนักที่พรรณนาไว้ในอรรถกถาชาดกบางเรื่องได้สะท้อนถึงการแย่งชิงอำนาจกันในราชสำนัก เป็นต้น

ร่องรอยภูมิศาสตร์ไทย ปรากฏในนิทเทส พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ ระบุชื่อสถานที่โบราณ ได้แก่ ตักโกลา (ตกฺโกลํ) และ ตามลิง (ตามฺลึง)  ตักโกลาเป็นท่าเรือสมัยโบราณ ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา  ส่วนตามลิง หรือ ตามพรลิงก็คือจังหวัดนครศรีธรรมราช  ยิ่งกว่านั้นมีข้อมูลภูมิศาสตร์ในเอเชียอาคเนย์ เช่น สุวรรณภูมิ ปีนัง ชวา และหมู่เกาะเปอร์เนียว  

ในมิลินทปัญหา ก็มีคำว่า ตกฺโกลํ  (ตะกั่วป่า) และประเทศจีน(จีนํ)  

การศึกษาคัมภีร์ ถ้าจะมุ่งศาสนธรรมอย่างเดียว คัมภีร์(พระไตรปิฎก)ก็เป็นแหล่งปฐมภูมิ เป็นตำราหลักที่ต้องมีไว้ตรวจสอบความประพฤติ ถ้าศึกษาหลายแง่ก็เอื้อประโยชน์หลายด้าน มีทั้งสาเหตุของปัญหาและมีวิธีแก้ปัญหา มีทั้งหลักการและมีวิธีการ ถึงกระนั้นเรื่องราวในพระไตรปิฎกก็ไม่ใช่หลักการไปเสียทั้งหมด

ถ้าจะศึกษามุ่งทางประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ในคัมภีร์สัมพันธ์กับองค์ความรู้อีกหลายสาขา ทั้งสังคมวิทยา มานุษยวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องราวในอดีต เป็นสิ่งปรุงแต่งเป็นสังขาร  องค์ความรู้เหล่านี้มีอยู่ก่อนที่จะมีการเรียกชื่อว่าเป็นวิชานั้นหรือว่าวิชานี้

ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยเตือนนักเรียนคัมภีร์ ดังข้อความที่คัดมา “..พวกเราสมัยนี้ พอเกิดมาก็มีคัมภีร์อันมากมาย ทั้งที่เป็นตัวบทเดิม (text) และคำอธิบายตัวบทนั้น (commentary) กองรออยู่แล้วเป็นภูเขาเลากา และเราก็เรียนกันอย่างตาเปียกตาแฉะ  จนมีความรู้ท่วมตัวทั้งในแง่ของศาสนา, ปรัชญา, วรรณคดีและอื่น จนเราไม่รู้ว่าจะเลือกข้อไหนเป็นที่พึ่ง ยิ่งเรียนพระคัมภีร์มากเท่าไร ก็ยิ่งไม่รู้ตัวแท้ของศาสนายิ่งขึ้นเท่านั้น  เพราะเหตุว่าตัวแท้ของศาสนานั้นเป็นสิ่งที่จะรู้จักได้ด้วยการปฏิบัติลงไปจริง เท่านั้น”

          อย่างไรก็ดี บทความนี้มุ่งศึกษาคัมภีร์ในฐานะที่เป็นแผนที่ที่มีไว้เป็นอุปกรณ์การเดินทาง เห็นว่าควรได้ศึกษาบริบทของคัมภีร์ด้วย ที่จำเป็นก็คือเประวัติศาสตร์มหายานยุคต้น มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เถรวาทในยุคต่อมา ตามประวัติศาสตร์นิกายเถรวาท ก่อนพระพุทธโฆษาจารย์จะไปลังกา นิกายมหายานรุ่งเรืองอยู่ในอินเดียเหนือและเอเชียกลาง แต่นิกายเถรวาทกลับเสื่อมโทรมจนพระพุทธโฆษาจารย์ต้องไปฟื้นฟูคัมภีร์บาลีที่ลังกา

 ฮาร์ ดายัล (Har Dayal) กล่าวว่า คัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาจีนก่อนพระพุทธโฆษาจารย์ มีหลายคัมภีร์ เช่น มหาวัสตุ ลลิตวิสตาระ สัทธรรมปุณฑริกะ สุขาวตีวยุหะ  พุทธจริตะ ปรัชญาปารมิตา ศตสาหัสตริกะ ปรัชญาปารมิตา วัชรัจเฉทิกา อวทานศตกะ ทิพยาวทาน ทศภูมิกสูตร ลังกาวตารสูตร สมาธิราชสูตร และสุวรรณประภาสะ เนื้อหาในคัมภีร์ดังกล่าวเชื่อว่าส่งอิทธิพลต่อวรรณกรรมในนิกายเถรวาท  ส่วนคัมภีร์นิกายเถรวาทที่ระบุว่ามีอยู่ก่อนพระพุทธโฆษาจารย์ ได้แก่ เนตติปกรณ์  เปฏโกปเทส มิลินทปัญหา[5] คัมภีร์สิงหลมี ๑๙ คัมภีร์ คัมภีร์ทีปวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์ (ประวัติศาสตร์เกาะลังกา)

ในคัมภีร์ของเถรวาท ระบุชื่อวรรณกรรมของนิกายอื่น   ได้แก่

ไวตุลปิฎกของนิกายไวตุลยะ แห่งอภัยคีรีวิหาร

วรรณปิฎกของนิกายเหมวันตะ

องคุลิมาลปิฎกของนิกายราชคิริ

คุยหเวสสันดรของนิกายสิทธารถกะ

รัฏฐปาลครรชิตของนิกายปูรวไศลี

อาฬวกครรชิตของนิกายอปรไศลี

คุยหวินัยของนิกายวัชรบรรพต

คำว่า พาหิรกสูตร ซึ่งแปลว่าสูตรภายนอก หมายถึงพระสูตรที่มิได้สังคายนาในอินเดีย ครั้ง  มติของท่านมหาเทวะตรงกับคำว่า ปรูปหารวาท์ อัญญาณวาท์ กังขาวาท์ และปรวิตรณวาท์ ของนิกายเถรวาท  นิกายเถรวาทถือว่า กลุ่มมหาสังฆิกะเป็นข้อศึกต่อพระศาสนา     

ส่วนคัมภีร์มหาวัสตุ-อวทาน เป็นคัมภีร์เชื่อมนิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน

. สรุป

          การรักษาคัมภีร์เท่ากับการรักษาพระศาสนา คัมภีร์พุทธศาสน์มีพระไตรปิฎกเป็นหลัก บันทึกผ่านมาหลายยุคหลายสมัย คนไทยรับอิทธิพลความเชื่อจากพระพุทธศาสนา สิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อการอนุรักษ์พระศาสนาก็คือการศึกษาแล้วปฏิบัติ  การปฏิบัติจะต้องมีหลักไว้ตรวจสอบว่าทำถูกต้องหรือไม่ ทำได้แค่ไหน และควรให้เป็นไปอย่างไร เป็นต้น 

ยุคนี้ ปัญหาไม่ใช่การเชื่อหรือการไม่เชื่อตำรา แต่กลายเป็นว่าควรเชื่อหรือไม่เชื่อตำราอย่างไร  อะไรเป็นตำนาน อะไรเป็นประวัติศาสตร์ บางทีพาให้สับสน ถึงได้ศึกษาก็ยังไม่ชัดเจนนักเพราะหาข้อมูลได้ยาก การเลือกเฟ้นจึงเป็นวิธีที่สำคัญ การเลือกจะสะท้อนผู้เลือกนั่นเอง  “ลิ่ม” ถูกตอกเพื่อไม่ให้ “ตะโพน” ชำรุด ถ้าไม่รู้จักตะโพนแล้วนำลิ่มไปแก้ปัญหาย่อมจะผิดวัตถุประสงค์ ไม่มีผลใด เหมือนการใช้กุญแจผิดดอก หรือการใช้ยาที่ไม่เหมาะกับโรค 

เมื่อยังไม่ถึงฝั่ง แพยังมีประโยชน์ ขึ้นฝั่งแล้วต้องทิ้งแพ มีคัมภีร์จะต้องศึกษา แต่คัมภีร์ยังไม่ใช่คำตอบท้ายที่สุด คัมภีร์เป็นเหมือนดัชนีชี้ไปยังดวงจันทร์ มีทั้งลิ่มเก่า ลิ่มใหม่และไม้จริง ถอดลิ่มออกได้ก็จะพบไม้จริง แต่ตะโพนเก่าคร่ำคร่าตามกาลเวลา ถ้าหากอุปกรณ์ยังไม่พร้อมก็ควรปล่อยลิ่มไว้  เพียงรู้จักแพ รู้จักตะโพน รู้จักลิ่ม ไม่ตอกย้ำลิ่มลงไปอีกก็คงเพียงพอแล้ว     

 

  

 

บรรณานุกรม

มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ผู้จัดพิมพ์). มหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร :

           โรงพิมพ์มหาจุฬา, ...

--------. ปปญฺจสูทนิยา นาม มชฺฌิมนิกายฏฺฐกถาย มูลปณฺณาสกวณฺณนา ทุติโย ภาโค.

            กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒

--------.สมนฺตปาสาทิกา วินยฏฺฐกถา ปฐโม, ทุติโย ภาโค. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์

วิญญาณ, ๒๕๓๒.

______. สารตฺถทีปนีฏีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๘.

Conze, Edward, A Short History of Buddhism. London : George & Unwin

            Publishers.

Rhys Davids, T.W. Buddhist India. Delhi : Motilal  Banarsidass,1970.

Hazra, K.L. Studies on Pali Commentaries. Delhi : D.K. Fine Art Press,1991.

 

 



[1] คำบาลี คือ “มา ปิฏกสมฺปทาเนน”  ในที่นี้  ปิฎก มุ่งเอาปริยัติศึกษา “ปริยตฺติปิ หิ มา ปิฏกนฺติ วุจฺจติ ” (วิ.. /๒๐)

       [2] Mrs. Rhys Davids  มีความเห็นว่า นักปรัชญาชาวยุโรปผู้มีแนวคิดคล้ายพระพุทธโฆษาจารย์ ได้แก่ Hume และ Hartley

[3] มีอายุอยู่ระหว่าง .. 1843-1922 (.. ๒๓๘๖–๒๔๖๕)

[4] ศิลปกรรมอินเดีย  มี ๒๕ ยุค เริ่มจากก่อนประวัติศาสตร์  ยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ยุคพระเวท ยุคอาณาจักรมคธ ฯลฯ พระเจ้าพิมพิสาร  พระเจ้าอชาตศัตรูจนถึงพระเจ้าอโศกมหาราช  อยู่ในยุคที่    บวกยุคประวัติศาสตร์ของไทยเข้าไปอีก ก็ยิ่งเห็นว่าพระไตรปิฎกผ่านมาหลายยุคหลายรัชกาล     

[5] พม่าจัด ๓ คัมภีร์นี้อยู่ในพระสุตตันตปิฎก (U Ko Lay : 1995, ix)

 

(ที่มา: -)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕